วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 4 ธันวาคม 2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 08.30-12.20
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 12.20


วันนี้อาจารย์ได้ให้ทำเกี่ยวกับตัวเลขที่เราชอบแล้วให้เขียนลงไปในวงกลมว่าเราชอบเลขอะไรและหลังจากนั้นก็ให้ทำกลีบดอกไม้ตามจำนวนที่เลขที่เราเขียนไว้
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถนำไปสอนให้เด็กๆรู้จักการคิด การนับเลข นับกลีบดอกของดอกไม้ สามารถทำให้เด็กเด็กได้มีพัฒนาการคิดที่ดี และมีการจำที่ดีอีกด้วยค่ะ

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณืทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารยืผู้สอน ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 28 พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 08.30-12.20
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 12.20


วันนี้หนูไม่ได้ไปเรียนค่ะ แต่หนูได้ถามเพื่อนๆอาจารย์ได้ให้เพื่อนๆได้ออกไปพรีเซน์งานค่ะแต่หนูก็ได้ตามงานค่ะและได้ถามเพื่อนๆว่าคนที่ไม่มาพรีเซน์อาจารย์จะให้ทำอะไรมั้งแต่อาจารย์บอกว่าใครไม่มาได้คะแนนน้อยกว่าเพื่อนในกลุ่มค่ะ 

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 20 พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 3เวลาเรียน 08.30-12.20
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเรียน 08.30เวลาเลิกเรียน 12.20
 
 
วันนี้หนูไม่สบายหนูเลยไม่ได้มาเรียนค่ะ

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 13 พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 08.30-12.20

เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเรียน 08.30เวลาเลิกเรียน 12.20

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความหมายของคณิตศาสตร์
   ระบบการคิดของมนุษย์ เพื่อศึกษาอธิบายความสำคัญของสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ ดดยใช้้ภาพ สัญลักษณ์ การพูด การเขียน เป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจ
ความสำคัญของคณิตศาสตร์
   - เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
   - ส่งเสริมกระบวนการคิด แก้ปัญหา โดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
   - เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงานและประเมินผล
   - เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆโดยเฉพาะ 
ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ Piaget 
1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส แรกเกิด-2 ปี
     - เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
     - สามารถจดจำของคุณลักษณะของวัตถุได้
2. ขั้นเตรียมการทางความคิดที่มีเหตุผล 2-7 ปี
     - ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
     - เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก และรูปทรง และความยาว
     - เล่นบทบาทสมมติ
   เด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้และชัดเจนที่สุด
   ไม่สามารถคงความคิดสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อสภาพทางกายภาพเปลื่ยนแปลงทำให้เด็กไม่สามารถสั่งสมความคิดไว้ได้

เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
     - โดยการนับ
     - การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
     - การเปรียบเทียบ รูปทรงและปริมาตร
     - เรียงลำดับ
     - จับกลุ่ม

หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   - เปิดโอกาศให้เด็กได้พูดคุย อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆ
   - ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่น และกิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ
   - ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
   - ใข้คำถามปลายเปิด
   - เชื่ยมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

ตัวอย่างกิจกรรม

ภาพปูนี้บ่งบอกให้ถึงหลักการทางคณิตศาสตรืที่จะสอนเด็กได้ว่า
1. การนับจำนวนขาของปู
2. การคิดคำนวณ
3. การใช้ภาพสิ่งรอบๆตัว
เพื่อที่จะทำให้เด็กมีจินตนาการและการคิด จากสิ่งที่ตาเห็นว่าภาพดังกล่าวมีความเป็นมาอย่างไรจะช่วยให้เด็กมีพํฒนาการที่ดีอีกด้วย

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 6 พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ เวลาเรียน 08.30-12.20

เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเรียน 08.30เวลาเลิกเรียน 12.20

วันนี้อาจารย์ได้บอกเกี่ยวกับข้อตกลงของรายวิชานี้ว่าต้องเรียนอย่างไรบ้างเก็บคะแนนเท่าไรและอาจารย์ให้ทำแผนผังความคิดในรายวิชานี้ว่าเราเรียนวิชานี้ต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้างเรียนแล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างไรบ้าง